Saturday, January 31, 2009

คุณภาพน้ำ | การวิเคราะห์คุณภาพน้ำ

ในปัจจุบันประเทศไทยมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีต่าง ๆ มากขึ้น
ทำให้มีมลพิษปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมมากขึ้น การพิจารณาคุณภาพน้ำจากการใช้ประสาทสัมผัส
ของคนเราอย่างเดียวย่อมไม่เพียงพอที่จะทำให้เราเกิดความมั่นใจได้ เพราะสารบางชนิดปนเปื้อน
อยู่ในน้ำโดยที่เราไม่สามารถสังเกตเห็นได้ เช่น ตะกั่ว สารหนู และเชื้อโรคต่าง ๆ ซึ่งเป็นสาเหตุ
สำคัญในการทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ ดังนั้น จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ซึ่งมีหน้าที่ในการจัดหาน้ำสะอาดเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภคของประชาชนให้ได้มาตรฐาน จึง
จำเป็นต้องมีการตรวจคุณภาพน้ำ โดยการวิเคราะห์เพื่อตรวจสอบคุณภาพน้ำจะแบ่งออกเป็น 3
ประเภทหลัก คือ ทางกายภาพ ทางเคมี และทางจุลินทรีย์ โดยทั้งนี้ ควรจะต้องตรวจคุณภาพน้ำทั้ง
ก่อนที่จะทำประปา คือ “แหล่งน้ำดิบ” และเมื่อทำประปาไปแล้ว คือ “น้ำดี” หรือ “น้ำประปา” ว่า
ได้ตามมาตรฐานหรือไม่


ก. การวิเคราะห์คุณภาพแหล่งน้ำดิบ
เมื่อเราทราบปริมาณน้ำแล้ว สิ่งที่ต้องทำควบคู่กันไปก็คือ การวิเคราะห์คุณภาพ
แหล่งน้ำ ซึ่งจะบอกเราได้ว่าแหล่งน้ำดิบนั้น ๆ สมควรนำไปทำประปาหรือไม่ ในระบบประปา
ชุมชนที่องค์การบริหารส่วนตำบลจะก่อสร้างนั้นเป็นระบบประปาที่ใช้วิธีการปรับปรุงคุณภาพน้ำ
แบบพื้นฐาน สามารถที่จะลดหรือกำจัดสารที่ปนเปื้อนอยู่ในน้ำได้เพียงบางอย่างเท่านั้น อาทิเช่น
สารละลายทั้งหมด เหล็ก และแมงกานีส ได้ในปริมาณหนึ่ง แต่ถ้าหากมีมากเกินไปก็จะเป็นปัญหา
สำหรับโลหะหนักที่เป็นพิษต่อร่างกาย ความกระด้างและความเค็มจะต้องใช้เทคโนโลยีที่สูงขึ้น
และค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ถ้ามีมากเกินมาตรฐานน้ำดื่มควรหลีกเลี่ยงการใช้แหล่งน้ำนั้น
สำหรับคุณภาพแหล่งน้ำทางแบคทีเรีย ควรเลือกที่อยู่ในชั้น 1 หรือ 2 เท่านั้น ถ้าสูงกว่านี้
ต้องผ่านกรรมวิธีพิเศษ ซึ่งได้ออกแบบไว้เป็นการเฉพาะแห่งให้ใช้แหล่งน้ำนั้นเมื่อไม่อาจ
หลีกเลี่ยงได้


* ค่ามาตรฐานต่าง ๆ ตามตารางมาตรฐานน้ำดิบขององค์การอนามัยโลก
และตารางมาตรฐานคุณภาพแหล่งน้ำทางแบคทีเรีย

คุณภาพน้ำประปา
ผู้ใช้น้ำหรือผู้บริโภคส่วนใหญ่จะพึงพอใจในคุณภาพของน้ำ โดยใช้ความรู้สึกของ
ตนเองเป็นเครื่องวัดเท่านั้น ซึ่งสารมลพิษที่ละลายอยู่ในน้ำไม่อาจรับหรือรู้สึกได้ด้วยประสาท
สัมผัสของมนุษย์ ดังนั้น จึงมีการกำหนดเกณฑ์คุณภาพหรือมาตรฐานน้ำประปาขึ้น เพื่อใช้
พิจารณาคุณภาพของน้ำว่ามีความเหมาะสมที่จะใช้เพื่อการอุปโภคหรือไม่เพียงใด
* ค่ามาตรฐานต่าง ๆ ตามตารางเกณฑ์คุณภาพน้ำประปาของกรมอนามัย


ที่มา: http://www.thailocaladmin.go.th/work/e_book/eb1/stan11/stan11.htm