Monday, November 28, 2011

ใช้สาวพรหมจรรย์ดมพิสูจน์น้ำประปามีพิษ

ไขปริศนา'น้ำประปาอันตราย'สาวพรหมจรรย์ดมพิสูจน์

ในสภาวะปกติคนกรุงเทพฯ ใช้น้ำประมาณ 200 ลิตรต่อคนต่อวัน การประปานครหลวง (กปน.) มีโรงงานผลิตน้ำ 4 แห่งคือ บางเขน สามเสน ธนบุรี และมหาสวัสดิ์ ล่าสุดชาวบ้านหลายท้องที่ร้องเรียนว่าน้ำที่ไหลจากท่อประปา มีกลิ่นเหม็นและมีสีขุ่น นอกจากนี้ยังมีการเตือนภัยน้ำประปาสกปรกว่าอาจมีสารเคมีและโลหะหนักรวมถึงเชื้อโรคเจือปน ทำให้นายเจริญ ภัสระ ผู้ว่าการการประปานครหลวง ต้องออกแถลงข่าวว่า ปัญหาน้ำท่วมทำให้น้ำดิบบางส่วนมีการปนเปื้อนและคุณภาพต่ำลง ส่งผลให้น้ำประปาบางพื้นที่เป็นน้ำขุ่น น้ำมีกลิ่นหรือสีผิดปกติ ตอนนี้ กปน.กำลังเร่งระดมแก้ไข พร้อมยืนยันว่าน้ำที่ไหลออกจากท่อประปาทั่วกรุงเทพฯ และเขตปริมณฑลยังได้มาตรฐานองค์การอนามัยโลก


“จงกลนี อาศุเวทย์” ผอ.ฝ่ายคุณภาพน้ำ กปน. อธิบายถึงหลักเกณฑ์วิธีตรวจสอบว่า น้ำประปาอันตรายหรือไม่นั้น ประกอบด้วย 4 ด้านคือ ด้านกายภาพ ด้านเคมี ด้านสารพิษ-โลหะหนัก และด้านจุลชีววิทยา ในแต่ละวันจะมีเจ้าหน้าที่ออกไปพื้นที่ต่างๆ เพื่อเก็บตัวอย่างน้ำมาตรวจวิเคราะห์ว่ายังปลอดภัยหรือไม่ เช่น 1.ทางกายภาพ เน้นตรวจเรื่องสี รสชาติ กลิ่น ความขุ่น และระดับกรด-ด่าง 2.ด้านเคมี เพื่อหาโลหะหนักที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เช่น เหล็ก ทองแดง สังกะสี คลอไรด์ ฟลูออไรด์ ฯลฯ 3.ตรวจหาสารเป็นพิษ เช่น ปรอท ตะกั่ว แคดเมียม ไซยาไนด์ ฯลฯ และ 4.ตรวจด้านจุลชีววิทยาหรือเชื้อโรคที่ต้องเฝ้าระวัง คือแบคทีเรีย เชื้ออหิวาตกโรค เชื้อบิด เชื้อไทฟอยด์ เชื้ออี.โคไล


ผอ.จงกลนี ไขปริศนาให้ฟังว่า ภาวะน้ำท่วมร้ายแรงปีนี้ ทำให้มีสิ่งสกปรกเข้าไปเจือปนในน้ำดิบ ที่ส่งมาจากแม่น้ำเจ้าพระยาจำนวนมาก จุดที่ต้องเฝ้าตรวจสอบอย่างละเอียดคือเรื่องของสารโลหะหนัก และสารพิษ แต่ยังยืนยันว่าน้ำดิบที่เข้ามายังไม่พบสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐาน เช่น สารปรอท กำหนดให้ไม่เกิน 0.001 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร (ลบ.ดม) ตรวจพบเพียง 0.00043 ส่วนตะกั่วต้องไม่เกิน 0.05 ลบ.ดม ตรวจพบในน้ำประปาเพียง 0.0002 เท่านั้น สารไซยาไนด์ยังตรวจไม่พบ ส่วนการตรวจหาเชื้อโรคจากน้ำประปานั้นไม่พบแบคทีเรียหรือเชื้อโรคอื่นๆ เพราะมีการป้องกันเต็มที่โดยใช้เพิ่มสารคลอรีนฆ่าเชื้อโรค ส่วนเรื่องความขุ่นนั้นระดับมาตรฐานคือไม่เกิน 5 เอ็นทียู ตรวจพบเฉลี่ยแค่ 1 เท่านั้น แต่น้ำจากโรงงานผลิตน้ำมหาสวัสดิ์ ที่แจกจ่ายให้พื้นที่นนทบุรี สมุทรปราการ และฝั่งธนบุรีนั้น อยู่ในระดับ 3 เอ็นทียู เพราะมีสิ่งสกปรกจากน้ำท่วมขัง ฯลฯ คุณภาพน้ำดิบทางด้านกายภาพไม่ดี แต่ทางด้านสารพิษโลหะหนัก ยังไม่เกินมาตรฐานที่นำมาผลิตเป็นน้ำประปาได้ ขณะนี้พยายามแก้ไขโดยน้ำที่ขุ่นจะใช้สารส้มเข้าไปให้ตกตะกอน ส่วนน้ำประปาที่มีสีผิดปกติจะใช้ด่างทับทิม ผงถ่านกัมมันต์ และเพิ่มออกซิเจนให้น้ำใสสะอาดกว่าเดิม


ขึ้นอยู่กับความรู้สึกของผู้ใช้น้ำประปาแต่ละคน บางประเทศจะเทน้ำมาใส่ขวดโดยไม่บอกว่าน้ำมาจากไหน บางประเทศใช้หญิงสาวพรหมจรรย์อย่างน้อย 5 คนดมกลิ่นน้ำประปาแล้วบอกว่ามีกลิ่นหรือไม่ ส่วนรสชาติยิ่งลำบาก เหมือนอาหารที่คนไทย แขก ฝรั่ง ชอบไม่เหมือนกัน บางคนได้รสบางคนไม่ได้รส กปน.ใช้วิธีให้เจ้าหน้าที่ช่วยกันดมและชิม แล้วรายงานว่าเป็นอย่างไร ส่วนการต้มน้ำแล้วเชื่อว่าจะทำให้น้ำหายขุ่น หรือไม่มีสี ไม่มีรสชาตินั้น เป็นความเชื่อของแต่ละคน”


สุดแม้ว่าจะเผชิญกับปัญหาหลายด้าน หากโรงงานผลิตน้ำประปาจะหยุดทำงาน ก็คงด้วยเหตุผลประการเดียวคือ น้ำท่วมสูงมากจนต้องมีการตัดไฟหรือระบบไฟฟ้าขัดข้องเท่านั้น ซึ่งไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ เพราะ กปน.เตรียมพร้อมป้องกันน้ำท่วมทุกด้านไว้เรียบร้อยแล้ว


วิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ตั้งข้อสังเกตว่า ระบบประปาเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าคาดการณ์ถึงสภาวะที่แย่สุดก็คือ คันดินที่ล้อมโรงผลิตน้ำประปาทั้งหมดเกิดพังหรือเสียหาย ทำให้น้ำทะลักเข้ามาในระบบจ่ายไฟฟ้า หรือเข้ามาในระบบกรองน้ำ จะทำให้คนกรุงเทพฯ ขาดแคลนน้ำประปาในระยะหนึ่ง จนกว่าจะแก้ไขและเริ่มกระบวนการผลิตใหม่ จึงขอเตือนให้ประชาชนวางแผนเตรียมน้ำสำรองไว้บ้าง เช่น ถังเก็บน้ำ หากเป็นน้ำดื่มควรเตรียมเครื่องกรองน้ำขนาดเล็ก หรือน้ำดื่มชนิดขวด

ที่มา: http://www.komchadluek.net/detail/20111031/113439/%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%94%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%88%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A9.html