Saturday, January 31, 2009

ข้อดีและข้อจำกัดในการใช้ RO

ข้อดี

1. ระบบ RO. สามารถประหยัดสารเคมีได้มากเมื่อเปรียบเทียบกับระบบเคมีทั่วๆไป ในระบบเคมีจะต้องใช้กรดและด่างจำนวนมากมาเจ็นเนอเรต นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องสภาพแวดล้อม ส่วนระบบ RO. จะใช้สารเคมีน้อยมาก ต้นทุนการผลิตน้ำจะตกอยู่ที่ค่าไฟของปั๊มน้ำ ซึ่งกินไฟมากเพราะความดันสูง แต่เมื่อเทียบกับราคาสารเคมีแล้วยังถูกกว่ามาก

2. ระบบ RO. สามารถทำให้น้ำบริสุทธิ์โดยไม่ต้องเปลี่ยนสถานะของน้ำก่อน (nophase change) เหมือนอย่างวิธีการกลั่นน้ำทั่วๆไป

3. ระบบ RO. ประกอบด้วยอุปกรณ์ไม่กี่อย่างจึงเป็นระบบที่กะทัดรัด เช่น ปั๊มน้ำ มอเตอร์ วาล์ว มาตรวัดอัตราการไหล เครื่องวัดค่าความนำไฟฟ้า (conductivity meter) เกจวัดความดัน ฯลฯ

4. ช่างคุมเครื่องจักรไม่จำเป็นต้องใช้ช่างฝีมือ เพียงแต่ผ่านการอบรมเพียงระยะเวลาสั้นๆก็สามารถคุมเครื่องได้ อุปกรณ์อัตโนมัติจะช่วยในการควบคุมง่ายขึ้น



ข้อจำกัด

1. ข้อจำกัดในเรื่องความดัน โดยปกติถ้าเป็นน้ำทะเลจะต้องใช้ความดัน 800 ถึง 1,000 PSI และสำหรับน้ำกร่อยธรรมดา จะใช้ความดันไม่เกิน 400 ถึง 600 PSI ซึ่งในแง่ของการปฏิบัติแล้ว เราจะใช้ความดัน 200 PSI เหนือความดันออสโมซิส (Osmosis Pressure) ดังนั้นระบบ RO. จึงไม่สามารถใช้กับการแยกน้ำที่มีความเข้มข้นของสารละลายสูงมากๆได้ เพราะโครงสร้างของเนื้อเยื่อจะไม่สามารถรับแรงดันมากเกินไปได้

2. ข้อจำกัดเกี่ยวกับอุณหภูมิของน้ำก่อนเข้าสู่ระบบ เนื้อเยื่อแบบ ทินฟิล์ม คอมโพซิส (Thin Film Composite) ถ้าป้อนน้ำที่มีอุณหภูมิเกินกว่านี้จะมีปัญหาเรื่องเนื้อเยื่ออัดตัวแน่น (compaction) เป็นเหตุให้สารละลายเล็ดลอดออกมาได้มากขึ้น ดังนั้นถ้าน้ำมีอุณหภูมิสูงเกินไปจะต้องลดอุณหภูมิลงก่อน

3. ข้อจำกัดเกี่ยวกับวัสดุที่ใช้ทำเมมเบรน เนื้อเยื่อที่ใช้ในระบบ RO. จะเสื่อมคุณภาพเร็วมาก หากสัมผัสกับน้ำมัน หรือ จารบี จึงจำเป็นต้องกำจัดไขมันใดๆ ออกอย่างเด็ดขาด

ระบบ REVERSE OSMOSIS คืออะไร

Reverse Osmosis คือระบบกรองน้ำที่ใช้ Membrane filter ซึ่ง มีรูพรุนเล็กมากจึงสามารถกรองสารละลายโลหะและเชื้อไวรัสได้ เมื่อผ่านการกรองสารละลายจะติดอยู่ที่ผิวของ Membrane filter ดังนั้น น้ำที่ผ่านการกรองด้วย Membrane filter ต้องเป็นน้ำที่ปราศจากสารแขวนลอย ก่อนการกรองด้วย Membrane filter จะต้องผ่านการกรองจากไส้กรอง 3 ชนิด และต้องใช้แรงดันของ Booster Pump เพื่อเพิ่มแรงดันน้ำจึงจะสามารถผ่านชั้นกรองของ Membrane filter ได้ โดยหลักการ Membrane filter จะยอมให้โมเลกุลของน้ำที่มีโมเลกุลเล็กผ่านได้เท่านั้น ส่วนเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส สารละลายแร่ธาตุ ซึ่งเป็นโมเลกุลซับซ้อนจะไม่สามารถผ่านชั้นกรองของ Membrane filter ไปได้ ถูกกำจัดออกมาในรูปของน้ำเสีย ส่วนน้ำที่ผ่านการดูดซับสิ่งแปลกปลอม อนุภาคของสารเคมีจะนำมาเก็บในถังน้ำบริสุทธิ์เพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อน ทำให้น้ำบริสุทธิ์ด้วย Activated Carbon อีกครั้งหนึ่งจึงเป็นที่ยืนยันได้ว่าน้ำที่ผ่านการกรองด้วยระบบ Reverse Osmosis นั้นสะอาดและบริสุทธิ์

เกร็ดความรู้เรื่องน้ำ

- น้ำนับเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ในอดีตหาน้ำได้ง่ายตามแหล่งน้ำธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันความเจริญเติบโต ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม ส่งผลทำให้แหล่งน้ำตามธรรมชาติมีความไม่สะอาดอีกต่อไป EPA USAกล่าวว่าโรค 80% ของทั้งหมด เกิดจากน้ำดื่มที่ไม่บริสุทธิ์ ที่ มีสารพิษปนเปื้อนอยู่มากมาย ทำให้คนเราเกิดอาการเจ็บป่วย

http://www.rwcc.com.au/Image%2080%20tap%20water.gif

- ร่างกายของคนเรามีน้ำปริมาณ 70-80% เพื่อหล่อเลี้ยงร่างกายในวันหนึ่งๆ มนุษย์ต้องรับน้ำเข้าและขับออกจากร่างกายอย่างน้อย 2.5 ลิตร/ วัน กล่าวคือ ใช้ดื่ม 1 ลิตร น้ำในอาหาร 1 ลิตร ขับออกอีก 0.5 ลิตร ร่างกายขับน้ำออกไปเท่าใด ก็ต้องการน้ำบริสุทธิ์เข้าร่างกายเท่านั้น มิฉะนั้นร่างกายจะขาดสมดุล โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ก็จะเกิดขึ้นและหากร่างกายขาดน้ำ 15-20% ของน้ำทั้งหมดในร่างกายของคนเราก็ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ ฉะนั้น น้ำจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด


- ถึงแม้ระบบประปาส่วนใหญ่จะใช้คลอรีน ในปริมาณมาก เพื่อบำบัดน้ำให้สะอาดแต่คลอรีนก็เป็นสาเหตุก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้ ทั้งยังส่งผ่านท่อประปาที่เก่าและขึ้นสนิม
ทำให้สารพิษเจือปนเพิ่มขึ้น และส่วนใหญ่แท้งค์น้ำตามบ้านมักอยู่กลางแดด ทำให้เป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคได้ เนื่องจากคลอรีนสลายตัวหมดฤทธิ์ไปแล้ว


- หลายครอบครัวหันมาต้มน้ำ โดยนำน้ำฝนมาดื่มทาน น้ำฝนที่ตกลงนั้น ก็ยังได้รับสารพิษในอากาศ ไม่ว่าจะเป็นสารพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม ไอเสียจากยานพาหนะ ทำให้ฝนที่ตกลงมามีสภาพเป็นฝนกรด ไม่สามารถดื่มได้ การต้มน้ำที่หลายครอบครัวใช้เพื่อฆ่าเชื้อโรค นอกจากจะเสียเวลาและเกิดความยุ่งยากแล้ว ยังไม่สามารถขจัดสารละลายที่มีอยู่ในน้ำให้หมดไปได้


- จึงมีการคิดค้นหาวิธีใหม่ โดยใช้วิธีการกรอง โดยผ่านเครื่องกรองน้ำแทนวิธีการต้ม การกรองนี้จะสามารถช่วยกรองสิ่งสกปรกต่างๆ กำจัดเชื้อโรค แบคทีเรีย ที่ปะปนมากับน้ำให้สะอาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คุณภาพน้ำ | การวิเคราะห์คุณภาพน้ำ

ในปัจจุบันประเทศไทยมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีต่าง ๆ มากขึ้น
ทำให้มีมลพิษปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมมากขึ้น การพิจารณาคุณภาพน้ำจากการใช้ประสาทสัมผัส
ของคนเราอย่างเดียวย่อมไม่เพียงพอที่จะทำให้เราเกิดความมั่นใจได้ เพราะสารบางชนิดปนเปื้อน
อยู่ในน้ำโดยที่เราไม่สามารถสังเกตเห็นได้ เช่น ตะกั่ว สารหนู และเชื้อโรคต่าง ๆ ซึ่งเป็นสาเหตุ
สำคัญในการทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ ดังนั้น จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ซึ่งมีหน้าที่ในการจัดหาน้ำสะอาดเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภคของประชาชนให้ได้มาตรฐาน จึง
จำเป็นต้องมีการตรวจคุณภาพน้ำ โดยการวิเคราะห์เพื่อตรวจสอบคุณภาพน้ำจะแบ่งออกเป็น 3
ประเภทหลัก คือ ทางกายภาพ ทางเคมี และทางจุลินทรีย์ โดยทั้งนี้ ควรจะต้องตรวจคุณภาพน้ำทั้ง
ก่อนที่จะทำประปา คือ “แหล่งน้ำดิบ” และเมื่อทำประปาไปแล้ว คือ “น้ำดี” หรือ “น้ำประปา” ว่า
ได้ตามมาตรฐานหรือไม่


ก. การวิเคราะห์คุณภาพแหล่งน้ำดิบ
เมื่อเราทราบปริมาณน้ำแล้ว สิ่งที่ต้องทำควบคู่กันไปก็คือ การวิเคราะห์คุณภาพ
แหล่งน้ำ ซึ่งจะบอกเราได้ว่าแหล่งน้ำดิบนั้น ๆ สมควรนำไปทำประปาหรือไม่ ในระบบประปา
ชุมชนที่องค์การบริหารส่วนตำบลจะก่อสร้างนั้นเป็นระบบประปาที่ใช้วิธีการปรับปรุงคุณภาพน้ำ
แบบพื้นฐาน สามารถที่จะลดหรือกำจัดสารที่ปนเปื้อนอยู่ในน้ำได้เพียงบางอย่างเท่านั้น อาทิเช่น
สารละลายทั้งหมด เหล็ก และแมงกานีส ได้ในปริมาณหนึ่ง แต่ถ้าหากมีมากเกินไปก็จะเป็นปัญหา
สำหรับโลหะหนักที่เป็นพิษต่อร่างกาย ความกระด้างและความเค็มจะต้องใช้เทคโนโลยีที่สูงขึ้น
และค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ถ้ามีมากเกินมาตรฐานน้ำดื่มควรหลีกเลี่ยงการใช้แหล่งน้ำนั้น
สำหรับคุณภาพแหล่งน้ำทางแบคทีเรีย ควรเลือกที่อยู่ในชั้น 1 หรือ 2 เท่านั้น ถ้าสูงกว่านี้
ต้องผ่านกรรมวิธีพิเศษ ซึ่งได้ออกแบบไว้เป็นการเฉพาะแห่งให้ใช้แหล่งน้ำนั้นเมื่อไม่อาจ
หลีกเลี่ยงได้


* ค่ามาตรฐานต่าง ๆ ตามตารางมาตรฐานน้ำดิบขององค์การอนามัยโลก
และตารางมาตรฐานคุณภาพแหล่งน้ำทางแบคทีเรีย

คุณภาพน้ำประปา
ผู้ใช้น้ำหรือผู้บริโภคส่วนใหญ่จะพึงพอใจในคุณภาพของน้ำ โดยใช้ความรู้สึกของ
ตนเองเป็นเครื่องวัดเท่านั้น ซึ่งสารมลพิษที่ละลายอยู่ในน้ำไม่อาจรับหรือรู้สึกได้ด้วยประสาท
สัมผัสของมนุษย์ ดังนั้น จึงมีการกำหนดเกณฑ์คุณภาพหรือมาตรฐานน้ำประปาขึ้น เพื่อใช้
พิจารณาคุณภาพของน้ำว่ามีความเหมาะสมที่จะใช้เพื่อการอุปโภคหรือไม่เพียงใด
* ค่ามาตรฐานต่าง ๆ ตามตารางเกณฑ์คุณภาพน้ำประปาของกรมอนามัย


ที่มา: http://www.thailocaladmin.go.th/work/e_book/eb1/stan11/stan11.htm