ปริมาณน้ำดื่มที่ดื่มในแต่ละวันเป็นสิ่งสำคัญ ผู้ที่ดื่มน้ำน้อยเลือดจะข้น ระบบไหลเวียนของเหลวในร่างกายผิดปกติ ผิวพรรณหยาบกร้าน รวมทั้งอาจเกิดการเจ็บป่วยต่างๆ แต่หากดื่มน้ำมากเกินไปก็ใช่ว่าจะเป็นผลดี เพราะไตจะทำงานหนัก ส่งผลให้ปวดศีรษะ อาเจียน กล้ามเนื้อเป็นตะคริว ความดันสูง น้ำหนักมากขึ้น ร่างกายบวมน้ำ รวมถึงอาจส่งผลถึงระบบสืบพันธุ์ แต่ละวันมนุษย์ควรดื่มน้ำปริมาณเท่าไร และดื่มน้ำอะไรถึงจะปลอดภัย
สูตรคำนวณปริมาณน้ำดื่มที่เหมาะกับคุณ
องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดสูตรคำนวณปริมาณน้ำดื่มที่เหมาะสมกับน้ำหนักตัวของแต่ละคน ในแต่ละวันไว้ดังนี้ น้ำหนักตัว (ก.ก.)/2 x 2.2 x30 = … C.C. (1000 C.C. = 1 ลิตร, 1 ลิตร = 5 แก้ว)
สมมติ ว่ามีน้ำหนักตัว 55 กิโลกรัม 55/2 x 2.2 x 30 = 1815 C.C. 1815 C.C. = 1.8 ลิตร 1.8 ลิตร = 9 แก้ว เมื่อทราบปริมาณน้ำดื่มต่อวันแล้ว จะต้องมีเทคนิคในการดื่มน้ำให้เกิดประโยชน์กับร่างกายมากที่สุดด้วย เทคนิคง่าย ๆ ที่ว่านั้นมีอยู่ 2 ข้อคือ
หลัง ตื่นนอน ก่อนแปรงฟัน ให้ดื่มน้ำทันที 2-5 แก้ว เพื่อช่วยขับของเสียออกจากร่างกาย ควรเป็นน้ำธรรมดาหรือน้ำอุ่น ไม่ใช่น้ำเย็น ที่ต้องดื่มตอนเช้าเพราะเป็นช่วงที่ร่างกายขับสารพิษได้ดีที่สุด ดื่มน้ำแต่น้อยระหว่างรับประทานอาหาร ไม่ควรเกิน 1 แก้ว หลังรับประทานอาหารเสร็จแล้ว 40 นาทีจึงค่อยดื่มน้ำตาม เพื่อให้กระเพาะย่อยอาหารได้เต็มที่ ที่สำคัญไม่ควรดื่มน้ำเย็น เพราะจะไปรบกวนการย่อย ทุกวันนี้เราดื่มน้ำอะไรกันอยู่
น้ำประปาดื่มได้?
ปัจจุบัน น้ำประปาของการประปานครหลวงผ่านการผลิตและควบคุมคุณภาพทุกขั้นตอน ตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก จึงดื่มได้อย่างปลอดภัย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระบบเดินท่อประปาในบ้าน ท่อเหล็กมีอายุใช้งานไม่เกิน 5 ปี ที่ปลอดภัยที่สุดคือท่อพลาสติก เพราะไม่เป็นสนิม การต้มน้ำประปาจะช่วยฆ่าเชื้อโรคในน้ำและลดความกระด้างไปพร้อมกัน ทั้งยังลดกลิ่นคลอรีนได้ด้วย ส่วนน้ำประปาที่ผ่านระบบกรอง ก็ขึ้นอยู่กับตัวกรองที่เลือกใช้ บางบ้านอาจใช้ตัวกรองถ่าน (Activated carbon) และเรซิน (Resin) ซึ่งก็สะอาดเพียงพอใกล้เคียงน้ำบรรจุขวด เว้นแต่ไม่ได้ผ่านขั้นตอนการฆ่าเชื้อ ด้วยรังสีอัลตร้าไวโอเลตหรือโอโซน
น้ำดื่มบรรจุขวด
The International Bottled Water Association หรือสมาคมน้ำบรรจุขวดนานาชาติ ได้ให้นิยามของน้ำบรรจุขวดไว้ว่า น้ำดื่ม (Drinking Water) น้ำ ดื่มในบ้านเรานั้นได้มาจากแหล่งน้ำบาดาลและน้ำประปา ผ่านการกรองชั้นถ่านเพื่อดูดกลิ่น ตามด้วยการผ่านสารเรซินเพื่อลดความกระด้าง ขั้นตอนสุดท้ายคือ การฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่อาจปนเปื้อนในน้ำ ด้วยการผ่านแสงอุลตร้าไวโอเลตหรือก๊าซโอโซน ที่เราเรียกกันจนคุ้นเคยว่าน้ำ UV หรือน้ำโอโซนนั่นเอง
น้ำธรรมชาติ (Natural Water)
คือ น้ำใต้ดิน รวมทั้งน้ำพุ (Spring) น้ำแร่ (Mineral) น้ำบ่อ (Well) และน้ำพุที่เจาะขึ้นมาจากแหล่งใต้ดิน (Artesian Well) ไม่นับรวมแหล่งน้ำสาธารณะและน้ำประปา ในการผลิตน้ำธรรมชาติ ห้ามใช้กระบวนการอื่นใดนอกจากการกรองเศษฝุ่นละอองและการฆ่าเชื้อโรค ด้วยวิธีการผลิตดังกล่าว จึงทำให้น้ำแร่บรรจุขวดมีความใกล้เคียงกับน้ำจากแหล่งกำเนิดมาก และการที่น้ำแร่มีคุณสมบัติแตกต่างกันตามแหล่งน้ำธรรมชาตินี้เอง จึงต้องมีการกำหนดค่าปริมาณเกลือแร่ ซึ่งอาจเกิดผลกระทบต่อสุขภาพของเด็ก และสตรีมีครรภ์ที่มีระบบย่อยอาหารไม่ดีเท่าคนทั่วไป เพราะน้ำแร่จะออกฤทธิ์เป็นยาระบาย หากมีปริมาณซัลเฟตมากกว่า 600 มิลลิกรัมต่อลิตร (ยกเว้นแคลเซียมซัลเฟต)
น้ำเพียวริไฟด์ (Purified Water)
เรียกง่ายๆ ว่าน้ำกลั่น เป็นน้ำที่ผลิตด้วยการกลั่น คือต้มน้ำจนเดือดแล้วระเหยกลายเป็นไอ เมื่อไอน้ำกระทบพื้นผิวที่เย็นจะกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ หรืออีกวิธีคือ การใช้กระแสไฟฟ้าแยกเกลือแร่ (Deionization) ที่ปนอยู่ออก แล้วน้ำไปผ่านขั้นตอนการกรองด้วยวัสดุที่มีรูขนาดเล็ก 0.0006 ไมครอน (1 เมตรเท่ากับ 1 ล้านไมครอน) เมื่อแร่ธาตุต่างๆ ถูกกรองออกหมดจะได้น้ำที่บริสุทธิ์มาก จนแทบไม่เหลือความกระด้างอยู่เลย แต่ที่จริงแล้วร่างกายคนเราก็ไม่จำเป็นต้องได้รับน้ำบริสุทธิ์ขนาดนั้น
ขวดแบบไหนเหมาะใส่น้ำดื่ม
ขวดที่นิยมใช้บรรจุน้ำดื่มในปัจจุบัน มี 4 ชนิด คือ ขวดแก้วใส ขวดพลาสติกใสและแข็ง (Polystyrene) ขวดพลาสติกเพท (Polyethylene terephthalate, PET) ซึ่งมีลักษณะใสและกรอบ และสุดท้าย ขวดพลาสติกขาวขุ่น (High-density polyethylene, HDPE)
ขวด 3 ชนิดแรกใช้บรรจุน้ำดื่มได้ดีกว่าขวดพลาสติกสีขาวขุ่น เคยมีการทดลองนำน้ำดื่มบรรจุขวดสีขาวขุ่นไปตั้งกลางแดดนาน ๆ จะมีกลิ่นของพลาสติกปนมากับน้ำ แม้ไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค แต่ก็ทำให้คุณภาพของน้ำลดลง ข้อเสียอีกประการหนึ่งคือ ขวดขาวขุ่นไม่เหมาะที่จะนำมารีไซเคิล ต่างจากขวดอีกสามชนิดที่รีไซเคิลง่ายและใช้ได้ทนทานกว่า ส่วนวันหมดอายุของน้ำดื่มบรรจุขวดนั้นคือประมาณ 2 ปี นับจากวันผลิตที่ระบุไว้บนฉลาก
Tuesday, August 25, 2015
ดื่มน้ำ แบบไหนจึงจะสุขภาพดี
คุณสมบัติของน้ำ
น้ำ จะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับสารต่างๆ ที่ละลายปะปนอยู่ในน้ำการที่มีสารต่างๆ ละลายปะปนอยู่ในน้ำ คุณสมบัติของน้ำมีรายละเอียดดังนี้
1. คุณสมบัติทางกายภาพของน้ำ คือ ลักษณะทางภายนอกที่แตกต่างกัน เช่นความใส ความขุ่น กลิ่น สี เป็นต้น
- อุณหภูมิ (Temperature) อุณหภูมิของน้ำมีผลในด้านการเร่งปฏิกิริยาทางเคมีซึ่งจะส่งผลต่อการลดปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำ
- สี (Color) สีของน้ำเกิดจากการสะท้อนแสงของสารแขวนลอยในน้ำ เช่น น้ำตามธรรมชาติจะมีสีเหลืองซึ่งเกิดจากกรดอินทรีย์ น้ำในแหล่งน้ำที่มีใบไม้ทับถมจะมีสีน้ำตาล หรือถ้ามีตะไคร่น้ำก็จะมีสีเขียว
- กลิ่นและรส กลิ่นและรสของน้ำจะมีคุณสมบัติแตกต่างกันขึ้นอยู่กับปริมาณสารอินทรีย์ที่อยู่ในน้ำ เช่น ซากพืช ซากสัตว์ที่เน่าเปื่อยหรือสารในกลุ่มของฟีนอล เกลือโซเดียมคลอไรด์ซึ่งจะทำให้น้ำมีรสกร่อยหรือเค็ม
- ความขุ่น (Turbidity) เกิดจากสารแขวนลอยในน้ำ เช่น ดิน ซากพืช ซากสัตว์
- การนำไฟฟ้า (Electical Conductivity) บอกถึงความสามารถของน้ำที่กระแสไฟฟ้าสามารถไหลผ่าน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของอิออนโดยรวมในน้ำ และอุณหภูมิขณะทำการวัดค่าการนำไฟฟ้า
- ของแข็งทั้งหมด (Total Solid: TS) คือ ปริมาณของแข็งในน้ำ สามารถคำนวณจากการระเหยน้ำออก ได้แก่ ของแข็งละลายน้ำทั้งหมด (Total Dissolved Solids: TDS) จะมีขนาดเล็กผ่านขนาดกรองมาตรฐาน คำนวณได้จากการระเหยน้ำที่กรองผ่านกระดาษกรองออกไป ของแข็งแขวนลอย (Suspended Solids: SS) หมายถึง ของแข็งที่อยู่บนกระดาษกรองมาตรฐานหลังจากการกรอง แล้วนำมาอบเพื่อระเหยน้ำออก ของแข็งระเหยง่าย (Volatile Solids: VS) หมายถึง ส่วนของแข็งที่เป็นสารอินทรีย์แต่ละลายน้ำ สามารถคำนวณได้โดยการนำกระดาษกรองวิเคราะห์เอาของแข็งที่แขวนลอยออก แล้วนำของแข็งส่วนที่ละลายทั้งหมดมาระเหยอุณหภูมิประมาณ 550 องศาเซลเซียส นำน้ำหนักน้ำที่ชั่งหลังการกรองลบด้วยน้ำหนักหลังจากการเผา น้ำหนักที่ได้คือ ของแข็งส่วนที่ระเหยไป
2. สมบัติทางด้านเคมีของน้ำ คือ ลักษณะทางเคมีของน้ำ เช่น ความเป็นกรด - เบส ความกระด้าง ปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำ เป็นต้น
- pH แสดงความเป็นกรดหรือเบสของน้ำ ( น้ำดื่มควรมีค่า pH ระหว่าง 6.8-7.3) โดยทั่วไปน้ำที่ปล่อยจากโรงงานอุตสาหกรรมมักจะมีค่า pH ที่ต่ำ (PH < 7) ซึ่งหมายถึงมีความเป็นกรดสูงมีฤทธิ์กัดกร่อน การวัดค่า pH ทำได้ง่าย โดยการใช้กระดาษลิตมัสในการวัดค่าความเป็นกรด – เบส ซึ่งให้สีตามความเข้มข้นของ [H+] หรือการวัดโดยใช้ pH meter เมื่อต้องการให้มีความละเอียดมากขึ้น สภาพเบส (alkalinity) คือสภาพที่น้ำมีสภาพความเป็นเบสสูงจะประกอบด้วยไอออนของ OH-, CO3- , H2CO3ของธาตุแคลเซียม โซเดียม แมกนีเซียม โพแทสเซียม หรือแอมโมเนีย ซึ่งสภาพเบสนี้จะช่วยทำหน้าที่คล้ายบัฟเฟอร์ต้านการเปลี่ยนแปลงค่า pH ในน้ำทิ้ง สภาพกรด ( acidity) โดยทั่วไปน้ำทิ้งจากแหล่งชุมชนจะมีบัฟเฟอร์ในสภาพเบสจึงไม่ทำให้น้ำมีค่า pH ที่ต่ำเกินไป แต่น้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมมักจะมีค่า pH ต่ำกว่า 4.5 ซึ่งมาจาก CO2 ที่ละลายน้ำ
- ความกระด้าง (hardness) เป็นการไม่เกิดฟองกับสบู่และเมื่อต้มน้ำกระด้างนี้จะเกิดตะกอน น้ำกระด้างชั่วคราว เกิดจากสารไบคาร์บอเนต (CO32-) รวมตัวกับ ไออออนของโลหะเช่น Ca2+, Mg2+ ซึ่งสามารถแก้ได้โดยการต้ม นอกจากนี้แล้วยังมีความกระด้างถาวรซึ่งเกิดจากอิออนของโลหะและสารที่ไม่ใช่พวกคาร์บอเนต เช่น SO42-- ,NO3- , CI- รวมตัวกับ Ca2+, Fe2+,Mg2+เป็นต้น ความกระด้างจึงเป็นข้อเสียในด้านการสิ้นเปลืองทรัพยากร คือต้องใช้ปริมาณสบู่หรือผงซักฟอกในการซักผ้าในปริมาณมาก ซึ่งก็จะเกิดตะกอนมากเช่นกัน
- ปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำ (dissolved oxygen, DO) แบคทีเรีย ที่เป็นสารอินทรีย์ในน้ำต้องการออกซิเจน (aerobic bacteria) ในการย่อยสลายสารอนินทรีย์ ความต้องการออกซิเจนของแบคทีเรียนี้จะทำให้จะทำให้ปริมาณออกซิเจนที่ละลายใน น้ำลดลง ดังนั้นในน้ำที่สะอาดจะมีค่า DO สูง และน้ำเสียจะมีค่า DO ต่ำ มาตรฐานของน้ำที่มีคุณภาพดีโดยทั่วไปจะมีค่า DO ประมาณ 5-8 ppm หรือปริมาณ O2 ละลายอยู่ปริมาณ 5-8 มิลลิกรัม / ลิตร หรือ 5-8 ppm น้ำเสียจะมีค่า DO ต่ำกว่า 3 ppm ค่า DO มีความสำคัญในการบ่งบอกว่าแหล่งน้ำนั้นมีปริมาณออกซิเจน
เพียงพอต่อความต้องการของสิ่งมีชีวิตหรือไม
่
- บีโอดี (biological oxygen demand) เป็นปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์
ต้องการใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำ น้ำที่มีคุณภาพดี ควรมีค่าบีโอดี ไม่เกิน 6 มิลลิกรัมต่อลิตร ถ้าค่าบีโอดีสูงมากแสดงว่าน้ำนั้นเน่ามาก แหล่งน้ำที่มีค่าบีโอดีสูงกว่า 100 มิลลิกรัมต่อลิตรจะจัดเป็นน้ำเน่าหรือน้ำเสีย พระราชบัญญัติน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม กำหนดไว้ว่า น้ำทิ้งก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ต้องมีค่าบีโอดีไม่เกิน 20 มิลลิกรัมต่อลิตร การหาค่า บีโอดี หาได้โดยใช้แบคทีเรียย่อยสลายอินทรียสารซึ่งจะเป็นไปช้า ๆ ดังนั้นจึงต้องใช้เวลานานหลายสิบวัน ตามหลักสากลใช้เวลา 5 วัน ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียสโดยนำตัวอย่างน้ำที่ต้องการหาบีโอดีมา 2 ขวด ขวดหนึ่งนำมาวิเคราะห์เพื่อหาค่าออกซิเจนทันที สมมุติว่ามีออกซิเจนอยู่ 6.5 มิลลิกรัมต่อลิตร ส่วนน้ำอีกขวดหนึ่งปิดจุกให้แน่น เพื่อไม่ให้อากาศเข้า นำไปเก็บไว้ในที่มืดที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียสนาน 5 วัน แล้วนำมาวิเคราะห์หาปริมาณออกซิเจน สมมุติได้ 0.47 มิลลิกรัม ต่อลิตร ดังนั้นจะได้ค่าซึ่งเป็นปริมาณออกซิเจน ที่ถูกใช้ไป หรือ ค่าบีโอดี = 6.5-0.47 = 5.03 มิลลิกรัมต่อลิตร
- COD (Chemical Oxygen Demand) คือ ปริมาณ O2ที่ใช้ในการออกซิไดซ์ในการสลายสารอินทรีย์ด้วยสารเคมีโดยใช้สารละลาย เช่น โพแทสเซียมไดโครเมต (K2Cr2O7) ในปริมาณมากเกินพอ ในสารละลายกรดซัลฟิวริกซึ่งสารอินทรีย์ในน้ำทั้งหมดทั้งที่จุลินทรีย์ย่อย
สลายได้และย่อยสลายไม่ได้ก็จะถูกออกซิไดซ์ภายใต้ภาวะที่เป็นกรดและการให้ความร้อน โดยทั่วไปค่า COD จะมีค่ามากกว่า BOD เสมอ ดังนั้นค่า COD จึงเป็นตัวแปรที่สำคัญตัวหนึ่งที่แสดงถึงความสกปรกของน้ำเสีย
- ทีโอซี (Total Organic Carbon: TOC) คือ ปริมาณคาร์บอนในน้ำ
- ไนโตรเจน เป็นธาตุสำคัญสำหรับพืช ซึ่งจะอยู่ในรูปของ แอมโมเนีย-ไนโตรเจน ไนไตรท ไนเตรต ยิ่งถ้าในน้ำมีปริมาณไนโตรเจนสูง จะทำให้พืชน้ำเจริญเติบโตอย่าง
รวดเร็ว
- ฟอสฟอรัส ในน้ำจะอยู่ในรูปของสารประกอบพวก ออร์โธฟอสเฟต (Orthophosphate) เช่นสาร PO43-, HPO42- , H2 PO4- และ H3PO4 นอกจากนี้ยังมีสารพวกโพลีฟอสเฟต
- ซัลเฟอร์ มี อยู่ในธรรมชาติและเป็นองค์ประกอบภายในของสิ่งมีชีวิต สารประกอบซัลเฟอร์ใน น้ำจะอยู่ในรูปของ organic sulfur เช่น ไฮโดรเจนซัลไฟต์ สารซัลเฟต เป็นต้น
ซึ่งสารพวกนี้จะทำให้เกิดกลิ่นเหม็นเน่า เช่น ที่เรียกว่าก๊าซไข่เน่า และนอกจากนี้ยังมีฤทธิ์กัดกร่อนใน
สิ่งแวดล้อมได้
- โลหะหนัก มีทั้งที่เป็นพิษและไม่เป็นพิษ แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณที่ได้รับ
ถ้ามากเกินไปจะเป็นพิษ ได้แก่ โครเมียม ทองแดง เหล็ก แมงกานีสและสังกะสี บางชนิดไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต ได้แก่ แคดเมียม ตะกั่ว ปรอทและนิกเกิล