I. การกรองเพื่อขจัดสารแขวนลอย
1.ทรายคัดเบอร์ ( Silica Sand )
นิยมใช้กันมาก ต้องเป็นทรายน้ำจืด ในการบรรจุสารกรองโดยทั่วไป ชั้นความหนาของทราย อยู่ระหว่าง 45-90 ซม.
2. แอนทราไซต์ ( Anthracite )
- ใช้สารกรองแอนทราไซต์ อย่างเดียว ชั้นความหนาของ อยู่ระหว่าง 45-75 ซม.
- ใช้คู่กับสารกรองทราย ชั้นความหนาของแอนทราไซต์ อยู่ระหว่าง 45-60 ซม. ชั้นความหนาของทราย อยู่ระหว่าง 30-45 ซม.
1.ทรายคัดเบอร์ ( Silica Sand )
นิยมใช้กันมาก ต้องเป็นทรายน้ำจืด ในการบรรจุสารกรองโดยทั่วไป ชั้นความหนาของทราย อยู่ระหว่าง 45-90 ซม.
2. แอนทราไซต์ ( Anthracite )
- ใช้สารกรองแอนทราไซต์ อย่างเดียว ชั้นความหนาของ อยู่ระหว่าง 45-75 ซม.
- ใช้คู่กับสารกรองทราย ชั้นความหนาของแอนทราไซต์ อยู่ระหว่าง 45-60 ซม. ชั้นความหนาของทราย อยู่ระหว่าง 30-45 ซม.
II. การกรองเพื่อดูดซึม
ใช้สารกรองถ่านกัมมันต์ ( Activated Carbon ) ที่กรอง สี กลิ่น รส สารสลายตัวได้ ออกจากน้ำ วัสดุที่ใช้นิยมใช้ผลิต คือ ถ่านหิน กะลามะพร้าว หรือไม้ เป็นต้น
ใช้สารกรองถ่านกัมมันต์ ( Activated Carbon ) ที่กรอง สี กลิ่น รส สารสลายตัวได้ ออกจากน้ำ วัสดุที่ใช้นิยมใช้ผลิต คือ ถ่านหิน กะลามะพร้าว หรือไม้ เป็นต้น
III. การกรองเพื่อขจัดสนิมเหล็ก
ใช้สารกรองแมงกานีส ( Manganese ) ซึ่งทำจากทรายเขียวเคลือบด้วย Manganous Sulfate ทำให้มีคุณสมบัติ กรองสนิมเหล็กได้ เมื่อใช้งานไประยะหนึ่ง จะต้องทำการล้างเพื่อฟื้นฟูสารกรอง ด้วยสารละลายด่างทับทิม
ใช้สารกรองแมงกานีส ( Manganese ) ซึ่งทำจากทรายเขียวเคลือบด้วย Manganous Sulfate ทำให้มีคุณสมบัติ กรองสนิมเหล็กได้ เมื่อใช้งานไประยะหนึ่ง จะต้องทำการล้างเพื่อฟื้นฟูสารกรอง ด้วยสารละลายด่างทับทิม
IV. การกรองเพื่อขจัดหินปูนหรือความกระด้างในน้ำ
ใช้สารกรองเรซิ่น ( Ion Exchange Resin ) ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ :
- แบบประจุบวก โซเดียม ( Sodium Cation Exchange Resin ) ใช้กำจัดความกระด้างออกจากน้ำ
ล้างคืนประจุเพื่อฟื้นฟูสารกรองด้วยเกลือแกง ( Sodium Chloride )
- แบบประจุบวก กรดแก่ ( Strong Acid Cation Exchange Resin ) ใช้กำจัดสารละลายเกลือแร่ประจุบวกออกจากน้ำ
ล้างคืนประจุเพื่อฟื้นฟูสารกรองด้วยกรดไฮโดรคลอริค ( Hydrochloric Acid ) หรือ กรดซัลฟุริก ( Sulfuric Acid )
- แบบประจุบวก กรดอ่อน ( Weak Acid Cation Exchange Resin ) ใช้กำจัด Alkalinity ออกจากน้ำ
ล้างคืนประจุเพื่อฟื้นฟูสารกรองด้วยกรดไฮโดรคลอริค ( Hydrochloric Acid ) หรือ กรดซัลฟุริก ( Sulfuric Acid )
- แบบประจุลบ ด่างแก่ ( Strong Base Anion Exchange Resin ) ใช้กำจัดสารซิลิกา ออกจากน้ำ
ล้างคืนประจุเพื่อฟื้นฟูสารกรองด้วยโซดาไฟน้ำ ( Sodium Hydroxide ) เท่านั้น
สารกรองเรซิ่นประเภทนี้จะใช้ร่วมกับสารกรองเรซิ่นแบบประจุบวก เพื่อผลิตน้ำบริสุทธิ์ ( water purification )
- แบบประจุลบ ด่างอ่อน ( Weak Base Anion Exchange Resin ) ใช้เติม Alkalinity ให้กับน้ำ
ล้างคืนประจุเพื่อฟื้นฟูสารกรองด้วยโซดาไฟน้ำ ( Sodium Hydroxide ) หรือแอมโมเนียน้ำ สารกรองเรซิ่นประเภทนี้ไม่สามารถแลกเปลี่ยนประจุและขจัดซิลิกาได้ จึงไม่นิยมใช้งาน
ใช้สารกรองเรซิ่น ( Ion Exchange Resin ) ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ :
- แบบประจุบวก โซเดียม ( Sodium Cation Exchange Resin ) ใช้กำจัดความกระด้างออกจากน้ำ
ล้างคืนประจุเพื่อฟื้นฟูสารกรองด้วยเกลือแกง ( Sodium Chloride )
- แบบประจุบวก กรดแก่ ( Strong Acid Cation Exchange Resin ) ใช้กำจัดสารละลายเกลือแร่ประจุบวกออกจากน้ำ
ล้างคืนประจุเพื่อฟื้นฟูสารกรองด้วยกรดไฮโดรคลอริค ( Hydrochloric Acid ) หรือ กรดซัลฟุริก ( Sulfuric Acid )
- แบบประจุบวก กรดอ่อน ( Weak Acid Cation Exchange Resin ) ใช้กำจัด Alkalinity ออกจากน้ำ
ล้างคืนประจุเพื่อฟื้นฟูสารกรองด้วยกรดไฮโดรคลอริค ( Hydrochloric Acid ) หรือ กรดซัลฟุริก ( Sulfuric Acid )
- แบบประจุลบ ด่างแก่ ( Strong Base Anion Exchange Resin ) ใช้กำจัดสารซิลิกา ออกจากน้ำ
ล้างคืนประจุเพื่อฟื้นฟูสารกรองด้วยโซดาไฟน้ำ ( Sodium Hydroxide ) เท่านั้น
สารกรองเรซิ่นประเภทนี้จะใช้ร่วมกับสารกรองเรซิ่นแบบประจุบวก เพื่อผลิตน้ำบริสุทธิ์ ( water purification )
- แบบประจุลบ ด่างอ่อน ( Weak Base Anion Exchange Resin ) ใช้เติม Alkalinity ให้กับน้ำ
ล้างคืนประจุเพื่อฟื้นฟูสารกรองด้วยโซดาไฟน้ำ ( Sodium Hydroxide ) หรือแอมโมเนียน้ำ สารกรองเรซิ่นประเภทนี้ไม่สามารถแลกเปลี่ยนประจุและขจัดซิลิกาได้ จึงไม่นิยมใช้งาน