Monday, December 31, 2012

ระวังเชื้อโรคปนเปื้อนในน้ำแข็ง


ทราบกันหรือเปล่าว่า "น้ำแข็ง" ที่เราบริโภคกันโดยเฉพาะที่เราบริโภคกันนอกบ้านนั้นใช้น้ำอะไรมาผลิต ทายถูกไหมเอ่ย จะบอกให้ก็ได้นะว่า คำตอบก็คือ "น้ำประปา" นั้นเอง

ฟังแล้วถึงกับอึ้งแต่ข้อเท็จจริงนี้ถูกยืนยันโดยข้อมูลจากการประปานครหลวง (กปน.) โดยทางการประปาได้เคยมีการทำการสำรวจแล้วว่า โรงงานทำน้ำแข็งส่วนใหญ่ในปัจจุบันใช้น้ำประปาเป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำแข็ง ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ชนิดที่เป็น น้ำแข็งซอง หรือที่เป็นก้อนขนาดใหญ่ นำมาทุบให้เล็กลงเพื่อใส่เครื่องบดใส่ถุงพลาสติกขาวๆ เพื่อไปจำหน่ายต่อ ซึ่งน้ำแข็งชนิดนี้เหมาะสำหรับแช่ของสด หรือบางครั้งทั้งแช่อาหาร แช่น้ำขวด รวมทั้งใส่แก้วบริการลูกค้า ส่วนอีกชนิดเป็นน้ำแข็งหลอดสำเร็จรูป ออกจากเครื่องบรรจุใส่ถุงพร้อมจำหน่าย



ส่วนเรื่องของการจัดส่งนั้นแม้ว่าโรงงานผลิตหลายแห่งมีมาตรฐานการขนส่งที่สะอาดน่าเชื่อถือ แต่ก็ยังมีอีกจำนวนมากที่ใส่รถบรรทุกคลุมด้วยผ้าใบพร้อมกับมีพนักงานยืนคุมบ้าง นั่งทับบนน้ำแข็งบ้าง ซึ่งจากพฤติกรรมดังกล่าว คงไม่ต้องถามถึงเรื่องความสะอาดปลอดภัย เพราะเชื่อแน่ว่า ในน้ำแข็งเหล่านั้นจะต้องมีเชื่อโรคปนเปื้อนอยู่แน่นอน

นี่ขนาดเรายังไม่ต้องเข้าไปดูถึงกรรมวิธีการผลิตน้ำแข็งในโรงงาน ซึ่งเป็นที่ที่ทำให้น้ำแข็งเกิดการปนเปื้อนได้ง่าย ด้วยสาเหตุทั้งหมดที่เล่ามานั้น จึงเป็นสิ่งที่บ่งบอกได้ดีทีเดียวว่าน้ำแข็งส่วนใหญ่จึงมีคุณภาพน่าเป็นห่วงมากแค่ไหน

สำหรับในเรื่องของคุณภาพของน้ำแข็งนั้น ทางสำนักคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. ได้มีข้อกำหนดในเรื่องคุณภาพของน้ำแข็งว่า จะต้องไม่ให้พบเชื้ออีโคไล และเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค รวมถึงหลักเกณฑ์ในการดูแลอุปกรณ์ กระบวนการผลิต การล้างทำความสะอาด สุขลักษณะของคนที่ทำงานควบคุมการผลิต ฯลฯ

โดยจากการสำรวจของ อย. พบว่าทั้งน้ำแข็งซองและน้ำแข็งหลอด มักมีการปนเปื้อนจากเชื้อจุลินทรีย์ เช่น โคลีฟอร์ม อีโคไล ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนมาจากสิ่งปฏิกูล ส่วนใหญ่ปนเปื้อนจากผู้ปฏิบัติงานที่สัมผัสกับน้ำแข็งโดยตรง หรือจากการขนส่ง

นอกจากนี้ถุงใส่น้ำแข็งที่มักจะใช้แล้วนำกลับมาใช้อีกจนกว่าจะขาด ฯลฯ ซึ่งเมื่อเชื้อโรคเหล่านี้เข้าสู่ร่างกายและเติบโตแข็งแรงขึ้นก็จะสร้างสารพิษทำอันตรายต่อผู้บริโภคได้อย่างรุนแรง เช่น ทำให้ท้องเสีย ฯลฯ ซึ่งเชื่อโรคเหล่านี้มักจะเจริญเติบโตได้ดีในหน้าร้อนอย่างช่วงนี้ด้วย

Wednesday, October 31, 2012

น้ำแร่และน้ำเปล่าแตกต่างกันอย่างไร


น้ำเปล่า เป็นน้ำที่บริสุทธิ์ ไม่มีสารอาหารใดๆ เป็นโมเลกุลที่มีขั้ว ประกอบไปด้วยไฮโดรเจน 2 อะตอม และออกซิเจน 1 อะตอมยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะไฮโดรเจน  น้ำเป็นตัวทำละลายที่ดีมากๆ และร่างกายสามารถดูดซึ่มได้รวดเร็วและดีที่สุดเมื่อเทียบกับน้ำชนิดอื่นๆ โดยน้ำเปล่าที่เป็นน้ำดื่มส่วนใหญ่จะผ่านการกรองด้วยเครื่องกรองน้ำ และระบบ Reverse Osmosis

น้ำแร่ เป็นน้ำที่อยู่ใต้ดินซึ่งประกอบไปด้วยสารอาหารมากมาย แต่แร่ธาตุจะมากหรือจะน้อยขึ้นอยู่กับแหล่งที่เกิดทางธรณีวิทยา เช่น ถ้าเกิดในบริเวณชั้นหินที่มีอายุเยอะแล้วจะมีความอุดมสมบูรณืของแร่ธาตุดีมาก แต่สารอาหารในน้ำแร่ ก็มีทั้งที่ดีและไม่ดีกับร่างกาย สารอาหารที่ดีต่อร่างกายในน้ำแร่ก็อย่างเช่น เกลือซัลเฟต ช่วยในการขับถ่าย, ฟลูออไรด์, แคลเซียม, โพแทสเซี่ยม ช่วยในกระบวนการเมทาบอลิซึ่ม , โซเดียม  ช่วยรักษาสมดุลน้ำในร่างกาย เป็นต้นและน้ำแร่แบ่งได้อีกหลายชนิด ตามแหล่งที่เกิดและสรรพคุณที่ช่วยในการรักษาโรค ส่วนสารอาหารที่ส่งผลเสียต่อร่างกาย เช่น สารหนู โครเมียม ไซยาไนด์ โมลิบดินัม แวนาเดียม เป็นต้น สำหรับน้ำแร่นั้นถ้าจะนำไปบรรจุขวดเพื่อเป็นน้ำดื่มจะไม่มีการกรองผ่านเครื่องกรองน้ำใดๆทั้งสิ้น มิฉะนั้นก็จะไม่เรียกว่า "น้ำแร่" ดังนั้นถ้าเห็นมีคนเอาเครื่องทำน้ำแร่มาขาย โดยใช้น้ำเปล่าผ่านชั้นหินต่างๆ แสดงว่าท่านโดนหลอกแล้วครับ



สิ่งที่เหมือนกันระหว่างน้ำแร่และน้ำเปล่า คือ เป็นสิ่งที่ร่างกายต้องการเพื่อนนำน้ำไปใช้ในกระบวรการต่างๆของร่างกาย เช่น ขับของเสียออกจากร่างกาย

สิ่งที่แตกต่างกันระหว่างน้ำแร่และน้ำเปล่า
ความแตกต่างระหว่างน้ำแร่และน้ำเปล่า จะต่างกันที่น้ำแร่มีแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการมากกว่าน้ำเปล่าเท่านั้นเอง แต่แร่ธาตุเหล่านี้ เราจะได้รับอยู่แล้วในทุกๆ วัน ซึ่งได้จากการรับประทานอาหาร ถ้าร่างกายได้รับแร่ธาตุมากเกินไป ก็จะถูกขับออกมาในรูปของของเสีย ทำให้ดื่มไปก็ไม่ได้มีประโยชน์อะไรขึ้นมาสำหรับท่านใดที่ดื่มน้ำแร่แทนน้ำเปล่าก็ลองพิจรณากันดูอีกทีนะ เพราะราคาที่แพงกว่าแต่คุณค่ามีเท่าๆกัน

ข้อเสียสำหรับผู้ที่ไม่ชอบดื่มน้ำหรือน้ำเปล่า
โดยการเลือกดื่ม น้ำหวาน น้ำอัดลม หรือ กาฟแทน หรือบางท่านอาจดื่มเฉพาะเวลาที่รู้สึกกระหายน้ำเท่านั้น ขอบอกว่าให้เลิกพฤติกรรมนี้ซะ เพราะว่าเซลล์ทุกเซลล์ในร่างกานจะไปกระไปด้วยน้ำ ถ้าคุณไม่ดื่มน้ำหรือดื่มแต่น้ำหวาน จะส่งผลให้เซลล์ในร่างกายเหี่ยว ร่างกายเข้าสู่ภาวะขาดน้ำ สุขภาพย่ำแย่ ไม่มีสมาธิเพราะสมองขาดน้ำ รู้สึกเหนื่อยและหงุดหงิดง่าย อาจเกิดการตกผลึกของเกลือแร่ทำให้เกิดโรคนิ่วในไตได้ง่าย หัวใจต้องทำงานหนักเป็นอย่างมากเพราะ ในเลือดไม่มีน้ำ แต่กลับมีน้ำตาลอยู่ ทำให้เลือด เหนี่ยวและข้น ยากต่อการที่จะส่งเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย ปาก คอ ผิวพรรณ แห้ง มันมีผลเสียมาเลยใช่ไหมค่ะ กับการที่ร่างกายขาดน้ำ สำหรับท่านใดที่ไม่ชอบดื่มน้ำเปล่า ก็เริ่มมาดื่มด้วยวิธีการจิ๊บน้ำแทนก่อน จิบบ่อยๆ และค่อยๆเพิ่มปริมาณขึ้นค่ะ และเราก็จะเคยชินกับการดื่มน้ำไปเอง

Tuesday, October 23, 2012

สุขภาพดี เริ่มต้นที่การดื่มน้ำ


น้ำเปล่า เครื่องดื่มที่ขาดไม่ได้ ต่อให้มีเครื่องดื่มรสชาติโปรดปราน เป็นน้ำผลไม้หรือสมูธตี้ก็ตาม แต่ร่างกายก็ยังต้องการน้ำเปล่า ที่สะอาด บริสุทธิ์เอาไว้หล่อเลี้ยงร่างกายอยู่เสมอ  เรารู้กันดีอยู่แล้วว่าน้ำ มีความสำคัญต่อชีวิตของเรา เพราะทำให้ระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายทำงานได้อย่างปกติ นอกจากนี้ยังมีผลต่อสุขภาพผิวพรรณ ทำให้มีน้ำมีนวล เปล่งปลั่งไม่แห้งกร้าน

โดยปกติแล้ว ในทุก ๆ วัน ร่างกายจะเสียน้ำจากการขับถ่ายและการหายใจ โดยเสียน้ำจากการขับถ่ายมากถึง 1.5 ลิตร และจากการหายใจถึงเกือบ 1 ลิตร จึงเป็นเหตุผลว่าทำไม เราถึงต้องดื่มน้ำให้ได้เฉลี่ยวันละ 8 แก้ว ก็เพื่อช่วยทดแทนการสูญเสียน้ำนั่นเอง



ดื่มอย่างไร ถึงจะเรียกว่าดี

วันนี้เรามีเทคนิคการดื่มน้ำที่จะช่วยให้เราสามารถดื่มน้ำได้ในปริมาณที่เหมาะสม และเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายมากฝากกัน


- ตอนเช้า 1 แก้ว (ประมาณ 400 c.c.) เป็นช่วงที่เลือดมีความเข้มข้นสูง มีลักษณะขาดน้ำ เพราะขณะหลับเรายังคงมีการสูญเสียน้ำจากการหายใจ 1 แก้วสำหรับตอนเช้าจึงจำเป็น

- ตอนสาย ๆ 2 แก้ว โดยแบ่งเป็นการดื่มหลังอาหารเช้า กับ ระหว่างช่วงเช้าถึงสาย ช่วงนี้จะเริ่มมีของเสียเกิดขึ้น เพราะร่างกายได้ทำงานไประยะหนึ่งแล้ว จึงควรดื่มน้ำเพื่อชำระของเสียเหล่านั้น

- ตอนกลางวันถึงตอนบ่าย 3 แก้ว แบ่งได้เป็นช่วงหลังอาหารกลางวัน และช่วงบ่ายอีก 2 ครั้ง เพื่อช่วยระบบการเผาผลาญของร่างกายให้มีประสิทธิภาพและช่วยกำจัดของเสียในร่างกายด้วย

- ตอนเย็น 2-3 แก้ว หากคุณไปออกกำลังกาย น้ำเป็นสิ่งจำเป็นมาก ๆ เพราะร่างกายจะสูญเสียน้ำผ่านทางเหงื่อมากเป็นพิเศษ ควรดื่มน้ำหลังอาหารเย็น และช่วงเวลาพักผ่อนหลังอาหารด้วย

- ก่อนนอน 1 แก้ว เพื่อให้น้ำได้ไหลเวียนชำระสิ่งตกค้างในลำไส้และกระเพาะอาหาร และช่วยลดภาวะการขาดน้ำขณะหลับ นอกจากนี้การดื่มน้ำอุ่นจะยิ่งช่วยให้หลับสบายยิ่งขึ้น


วิธีการดื่มน้ำให้ได้ผลดีตามที่กล่าวมานั้น จำเป็นต้องดูความเหมาะสมด้วย เพราะการดื่มน้ำมากเกินไป อาจเป็นการขับแร่ธาตุบางอย่างออกมามากเกินความจำเป็น เช่น ธาตุโซเดียม ซึ่งจะทำให้อ่อนเพลีย และอาจเป็นตะคริวได้ ดังนั้นพึงระลึกอยู่เสมอว่า อาหารที่เราทานนั้นมีน้ำเป็นส่วนประกอบอยู่แล้ว การดื่มน้ำเป็นการช่วยเสริมไม่ให้ร่างกายต้องอยู่ในภาวะขาดน้ำเท่านั้น ดังนั้นควรดื่มแต่พอดี ไม่มากหรือน้อยเกินไป เราก็จะได้ประโยชน์และคุณค่าของการดื่มน้ำได้อย่างเติมที่


Tuesday, March 6, 2012

น้ำแร่ไม่มีฟอง กับ น้ำแร่ชนิดมีฟอง มีแร่ธาตุไหม?

น้ำแร่ในตลาดปัจจุบันแบ่งย่อยได้เป็น 2 ชนิด คือ น้ำแร่ไม่มีฟอง (Still Mineral Water) และน้ำแร่ที่มีฟอง (Sparkling Mineral Water) สำหรับน้ำแร่ชนิดมีฟองเป็นน้ำแร่ที่นิยมในต่างประเทศ เพราะนอกจากจะทำให้รู้สึกสดชื่น ลดความเหนื่อยล้า ยังเป็นเทรนด์ที่มาแรงในกลุ่มคนรักสุขภาพรุ่นใหม่ โดยนิยมดื่มในระหว่างมื้ออาหาร เพื่อคลายอาการท้องผูก เพราะฟองอากาศช่วยย่อยอาหารได้ดีขึ้น และยังช่วยลดไขมันในเส้นเลือด และลดคอเลสเตอรอลได้ด้วย

นอกจากนี้ในน้ำแร่ชนิดมีฟอง ยังอุดมไปด้วยแร่ธาตุต่างๆ ที่ดีต่อสุขภาพ เช่น แคลเซียม ช่วยเสริมสร้างมวลกระดูกให้คงความแข็งแรง แมกนีเซียม ช่วยขับสารพิษและซ่อมแซมเซลล์ผิวที่เสื่อมสภาพ โพแทสเซียม ช่วยในกระบวนการเผาผลาญอาหาร โซเดียม ช่วยรักษาระบบความสมดุลของน้ำในร่างกาย ไบคาร์บอเนต ช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร ซัลเฟต ช่วยป้องกันเลือดไหลไม่หยุด ฟลูออไรด์ ช่วยให้ฟันแข็งแรง ไม่ผุง่าย เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ร่างกายก็ยังจำเป็นต้องได้รับสารอาหาร เราควรเลือกดื่มน้ำแร่ที่สะอาดร่วมกับการกินอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนจึงจะดี

Monday, February 13, 2012

What is Reverse Osmosis?

By applying a pressure that exceeds the osmotic pressure, the reverse effect occurs. Fluids are pressed back through the membrane, while dissolved solids stay behind.

To purify water by Reverse Osmosis membrane, the natural osmosis effect must be reversed. In order to force the water of the brine stream (high salt concentration) to flow towards the fresh stream (low salt concentration), the water must be pressurized at an operating pressure greater than the osmotic pressure. As a result, the brine side will get more concentrated.
The operating pressure of seawater is around 60 bar.



1. Water flows from a column with a low dissolved solids content to a column with a high dissolved solids content

2. Osmotic pressure is the pressure that is used to stop the water from flowing through the membrane, in order to create balance

3. By pursuing pressure that exceeds the osmotic pressure, the water flow will be reversed; water flows from the column with a high dissolved solids content to the column with a low dissolved solids content

What is heat pollution, what causes it and what are the dangers?

In most manufacturing processes a lot of heat originates that must be released into the environment, because it is waste heat. The cheapest way to do this is to withdraw nearby surface water, pass it through the plant, and return the heated water to the body of surface water. The heat that is released in the water has negative effects on all life in the receiving surface water. This is the kind of pollution that is commonly known as heat pollution or thermal pollution.

The warmer water decreases the solubility of oxygen in the water and it also causes water organisms to breathe faster. Many water organisms will then die from oxygen shortages, or they become more susceptible to diseases.

What are the major water pollutants?

There are several classes of water pollutants. The first are disease-causing agents. These are bacteria, viruses, protozoa and parasitic worms that enter sewage systems and untreated waste.

A second category of water pollutants is oxygen-demanding wastes; wastes that can be decomposed by oxygen-requiring bacteria. When large populations of decomposing bacteria are converting these wastes it can deplete oxygen levels in the water. This causes other organisms in the water, such as fish, to die.

A third class of water pollutants is water-soluble inorganic pollutants, such as acids, salts and toxic metals. Large quantities of these compounds will make water unfit to drink and will cause the death of aquatic life.
Another class of water pollutants are nutrients; they are water-soluble nitrates and phosphates that cause excessive growth of algae and other water plants, which deplete the water's oxygen supply. This kills fish and, when found in drinking water, can kill young children.

Water can also be polluted by a number of organic compounds such as oil, plastics and pesticides, which are harmful to humans and all plants and animals in the water.

A very dangerous category is suspended sediment, because it causes depletion in the water's light absorption and the particles spread dangerous compounds such as pesticides through the water.

Finally, water-soluble radioactive compounds can cause cancer, birth defects and genetic damage and are thus very dangerous water pollutants.

What is water pollution?

Water pollution is any chemical, physical or biological change in the quality of water that has a harmful effect on any living thing that drinks or uses or lives (in) it. When humans drink polluted water it often has serious effects on their health. Water pollution can also make water unsuited for the desired use.

วิธีการกรองน้ำแบบต่างๆ

สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล เพิ่งวิเคราะห์วิจัยเสร็จหมาดๆ จริงๆแล้ว คนไทยดื่มน้ำ RO กันมาตั้งนานหลายปีแล้ว...น้ำขวดที่วางขายกันตามท้องตลาด ส่วนหนึ่งก็เป็นน้ำที่ผลิตจากกระบวนการ RO (REVERSE OSMOSIS) เหมือนกัน

“น้ำดื่ม น้ำบรรจุขวดที่ขายในบ้านเราส่วนใหญ่ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ใช้กระบวนการผลิตแบบกรอง” รศ.ดร.วิสิฐ จะวะสิต รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยโภชนาการ เกริ่นให้ความรู้เรื่อง การผลิตน้ำดื่มในบ้านเรา
ขั้นตอนการผลิตน้ำดื่มแบบยอดนิยม เริ่มตั้งแต่การสูบน้ำดิบ (น้ำประปา/น้ำบาดาล/น้ำบ่อ) กรองด้วยคาร์บอน ก็ถ่านนั่นแหละ เพื่อกรองสี กรองกลิ่น ต่อด้วยใช้เรซินกรองแคลเซียม กับแมกนีเซียมออกไป

จากนั้นกรองหยาบด้วยฟิลเตอร์ขดเชือก เพื่อกรองเศษผงตะกอนขนาด 10 ไมครอนขึ้นไป เสร็จแล้วกรองละเอียดด้วยกระบอกเซรามิก กรองจุลินทรีย์ตัวจิ๋วขนาด 0.3-1 ไมครอน อย่างสาหร่าย ตะไคร่น้ำ แล้วตามด้วยการฆ่าเชื้อโรคด้วยแสงยูวี (อัลตราไวโอเลต) หรือระบบโอโซน

นี่เป็นขั้นตอนการกรองน้ำดื่มที่ได้มาตรฐานทั่วไป...สะอาด เหมาะแก่การบริโภค ส่วนการกรองอีกแบบที่เรียกว่า RO...จะให้ความสะอาดมากกว่า กรองการใช้แรงดันสูงฉีดน้ำให้ผ่านเยื่อบางๆ ที่เรียกว่า “Membrane” เยื่อนี้สามารถกรองน้ำให้สะอาดได้มากกว่า...เพราะกรองได้เล็กละเอียด ถึงขนาดกรองโมเลกุล กรองอะตอมของน้ำได้เลย

เชื้อโรค จุลินทรีย์ไม่ต้องพูดถึง ไม่มีทางหลุดผ่านเยื่อกรองนี้ได้
ถึงระบบ RO จะกรองได้สะอาดจัด ดร.วิสิฐ บอกว่า น้ำที่ได้จากการ กรองระบบนี้เลยมีข้อด้อย น้ำรสชาติไม่อร่อย...ไม่เหมือนการกรองแบบธรรมดา

นอกจากนั้น ในบ้านเรายังมีระบบทำความสะอาดน้ำอีกแบบ กรองได้ดีกว่าระบบ RO นั่นก็คือ การกรองแบบที่เรียกว่า Deionized water ระบบนี้ไม่เพียงกรองสิ่งสกปรก แร่ธาตุสารอาหารที่อยู่ในน้ำเท่านั้น... ประจุไฟฟ้าที่อยู่ในน้ำยังถูกกรองออกไปด้วย
ในน้ำจะมีแต่น้ำอย่างเดียว...ไม่มีอะไรเจือปนเลย

น้ำสะอาดบริสุทธิ์ที่จะได้จากการกรองแบบนี้ ทำขึ้นมาเพื่อนำไปใช้ผสมยา ใช้ในห้องทดลอง รวมทั้งใช้เติมแบตเตอรี่รถยนต์
ที่เราหลงผิดเรียกกันว่าน้ำกลั่น จริงๆแล้วเค้าไม่ได้กลั่น...แต่ใช้วิธีกรองแบบ Deionized water นี่ต่างหาก

น้ำสะอาดบริสุทธิ์ตัวนี้แหละ...ที่ไม่ควรดื่ม!

ส่วนน้ำอย่างอื่นๆ กรองแบบทั่วไป กรองแบบ RO ก็ดื่มได้
เพราะหลังจากมีข่าวว่าน้ำดื่ม RO อันตราย ผศ.ดร.รัชนี คงคาฉุยฉาย หัวหน้าฝ่ายเคมีทางอาหาร สถาบันวิจัยโภชนาการ ได้เก็บรวบรวมตัวอย่างน้ำทั้งหมด 29 ชนิด มาตรวจวิเคราะห์
ตั้งแต่ น้ำฝน, น้ำประปา, น้ำประปาต้ม, น้ำผ่านเครื่องกรองที่ติดตั้งตามบ้าน, น้ำผ่านเครื่องกรองของหอพักพยาบาล

น้ำดื่มบรรจุขวดที่วางขายกันตามท้องตลาด, น้ำดื่มที่ผ่านกระบวนการกรองแบบ RO รวมทั้งน้ำแร่อีกหลายยี่ห้อ ที่วางขายกันตามซุปเปอร์มาร์เกต สรุปง่ายๆ...น้ำอะไรที่สะอาดพอจะดื่มได้ ดร.รัชนี เอามาตรวจวิเคราะห์หมด

เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นกันจะจะ รู้กันให้ชัด น้ำ RO กับน้ำดื่มทั่วไป มีแร่ธาตุแตกต่างมากมายแค่ไหน ถ้าไม่ดื่มน้ำพวกนี้ ร่างกายจะขาดแร่ธาตุ เกลือแร่ จนเป็นเหตุให้ต้องป่วยล้มตาย พิกลพิการเหมือนอย่างที่เขาว่ากันหรือเปล่า?

ผลการตรวจน้ำดื่มหาแร่ธาตุ 7 ชนิด...โซเดียม (Na), โปแตสเซียม (K), คลอไรด์ (Cl), แคลเซียม (Ca), แมกนีเซียม (Mg), เหล็ก (Fe) และ สังกะสี (Zn)

ปรากฏว่า น้ำดื่มทุกชนิด มีปริมาณแร่ธาตุสารอาหารน้อยใกล้เคียงกัน... แทบไม่แตกต่างกันเลย ขนาดน้ำฝน น้ำจากธรรมชาติ ยังมีแร่ธาตุบางตัวน้อยกว่าน้ำประปาซะอีก แม้แต่น้ำแร่ราคาแพง ที่ว่าแน่ มีแร่ธาตุมากกว่าน้ำดื่มอย่างอื่น...ก็มีไม่เท่าไร
ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายแต่ละวัน
หัวหน้าฝ่ายเคมีทางอาหาร ยกตัวอย่าง...น้ำแร่ยี่ห้อหนึ่ง มีโซเดียมสูงถึง 56.5 ไมโครกรัม ต่อ 100 มิลลิลิตร แต่ร่างกายเราต้องการโซเดียมวันหนึ่ง 2,400 มิลลิกรัม หรือวันละ 2.4 ล้านไมโครกรัม
ถ้าจะให้ได้โซเดียมเท่าที่ร่างกายต้องการ...ต้องดื่มน้ำแร่นี้วันละ 4,200 ลิตร มนุษย์หน้าไหนจะดื่มได้ขนาดนั้น...คนเราต้องดื่มน้ำวันละลิตรครึ่งเท่านั้นเอง
แร่ธาตุอื่นๆในน้ำดื่มทั้ง 29 ตัวอย่างก็เช่นกัน มีแร่ธาตุน้อยมาก... ในระดับไม่มีนัยสำคัญ ต่อความต้องการของร่างกายแม้แต่น้อย

ผลการตรวจวิเคราะห์ ดร.รัชนี สรุป...คนเราได้แร่ธาตุจากอาหารเป็นหลัก ร่างกายคนเราไม่ได้หวังพึ่งสารอาหารแร่ธาตุจากน้ำแต่อย่างใด “ร่างกายคนเราต้องการน้ำเพื่อรักษาความสมดุลในร่างกาย ไม่ให้ระดับเคมีในร่างกาย มีความเป็นกรดเป็นด่างมากจนเกินไป ต้องการน้ำเพื่อไปชำระของเสียส่วนเกิน ออกไปจากร่างกาย ต้องการน้ำเพื่อรักษาความชุ่มชื่นให้กับผิวหนัง”

เหมือนอย่างที่เราทานเค็มมาก จะเกิดการกระหายน้ำ ร่างกายต้องการน้ำเพื่อไปเจือจาง ความเค็มให้น้อยลง และชะล้างความเค็มส่วนเกินให้ออกไปจากร่างกาย

ดร.รัชนี ยังบอกอีกว่า น้ำที่ไม่ควรดื่มคือน้ำสะอาดบริสุทธิ์ ที่เกิดจากกระบวนการ Deionized water สะอาดบริสุทธิ์ แม้แต่ประจุไฟฟ้ายังไม่ หลงเหลือ น้ำบริสุทธิ์จนบริสุทธิ์ ไม่ควรดื่มก็เพราะร่างกายเรายังหวังพึ่งประจุไฟฟ้า ในน้ำมาช่วยปรับความสมดุลของร่างกาย


อ้างอิงบางส่วนจาก
http://www.balavi.com/webboard/QAview.asp?id=276

Friday, February 10, 2012

Why does water sometimes smell like rotten eggs?

When water is enriched with nutrients, eventually anaerobic bacteria, which do not need oxygen to practice their functions, will become highly active. These bacteria produce certain gasses during their activities. One of these gases is hydrogen sulphide. This compounds smells like rotten eggs. When water smells like rotten eggs we can conclude that there is hydrogen present, due to a shortage of oxygen in the specific water.

Wednesday, February 1, 2012

What causes white deposit on showers and bathroom walls?

Water contains many compounds. A few of these compounds are calcium and carbonate. Carbonate works as a buffer in water and is thus a very important component.

When calcium reacts with carbonate a solid substance is formed, that is called lime. This lime is what causes the white deposit on showers and bathroom walls and is commonly known as lime deposit. It can be removed by using a specially suited cleaning agent.

Friday, January 13, 2012

Where does water pollution come from?

Water pollution is usually caused by human activities. Different human sources add to the pollution of water. There are two sorts of sources, point and nonpoint sources. Point sources discharge pollutants at specific locations through pipelines or sewers into the surface water. Nonpoint sources are sources that cannot be traced to a single site of discharge.

Examples of point sources are: factories, sewage treatment plants, underground mines, oil wells, oil tankers and agriculture.

Examples of nonpoint sources are: acid deposition from the air, traffic, pollutants that are spread through rivers and pollutants that enter the water through groundwater.

Nonpoint pollution is hard to control because the perpetrators cannot be traced.

Wednesday, January 11, 2012

How do we detect water pollution?

Water pollution is detected in laboratories, where small samples of water are analysed for different contaminants. Living organisms such as fish can also be used for the detection of water pollution. Changes in their behaviour or growth show us, that the water they live in is polluted. Specific properties of these organisms can give information on the sort of pollution in their environment. Laboratories also use computer models to determine what dangers there can be in certain waters. They import the data they own on the water into the computer, and the computer then determines if the water has any impurities.

Tuesday, January 3, 2012

What is acid rain and how does it develop?

Typical rainwater has a pH of about 5 to 6. This means that it is naturally a neutral, slightly acidic liquid. During precipitation rainwater dissolves gasses such as carbon dioxide and oxygen. The industry now emits great amounts of acidifying gasses, such as sulphuric oxides and carbon monoxide. These gasses also dissolve in rainwater. This causes a change in pH of the precipitation – the pH of rain will fall to a value of or below 4. When a substance has a pH of below 6.5, it is acid. The lower the pH, the more acid the substance is. That is why rain with a lower pH, due to dissolved industrial emissions, is called acid rain.